Your attempt to edit this post: “” has failed.

|

Your attempt to edit this post: “” has failed.

Please try again.

Your attempt to edit this post: “” has failed.
Please try again.


หลังจากที่ได้ทำการอัพเกรด WordPress จากรุ่น 2.3 ข้ามมาเป็นรุ่น 2.5.1 นั้นได้เกิดปัญหาคือ หลังจากที่เขียนบทความไปแล้ว เมื่อกดปุ่ม Publish เพื่อส่งบทความเข้าสู่บล็อก กลับไม่สามารถส่งบทความได้ ปรากฏข้อความว่า
Your attempt to edit this post: “[ชื่อหัวข้อบทความ]” has failed.
Please try again.
เมื่อคลิกไปที่ “Please try again.” จะย้อนกลับไปที่หน้าเขียนบทความใหม่ ข้อความต่าง ๆ อันตรธานไปหมดสิ้น เมื่อเข้าไปที่เมนู Manage จะพบว่าใน Draft มีบทความเพิ่มขึ้นมา เมื่อไปเปิดก็จะพบทความที่ส่งขึ้นบล็อกไม่ได้นั่นเอง
การแก้ปัญหา
จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ได้หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ พบว่า ปัญหาเกิดจาก Autosave นั่นเอง การแก้ไขคือ เปิดไฟล์ /wp-admin/post-new.php ขึ้นมาแล้วใส่เครื่องหมาย // หน้า wp_enqueue_script(’autosave’); เป็น //wp_enqueue_script(’autosave’); บันทึกไฟล์แล้วอัพโหลดไปทับไฟล์เดิม
ตัวอย่างโค้ด

require_once('admin.php');
$title = __('Create New Post');
$parent_file = 'post-new.php';
$editing = true;
//wp_enqueue_script('autosave');
wp_enqueue_script('post');
if ( user_can_richedit() )


หลังจากแก้ไขแล้ว การโพสต์บทความก็สามารถคลิกปุ่ม Publish ได้ตามปกติ ท่านใดที่มีปัญหาหรือพบผู้ใช้ท่านอื่นที่มีปัญหาในลักษณะนี้ ก็ลองไปแก้ไขปัญหาดูครับ

xirbit.com

แสดงภาพสลับไปเรื่อยๆ

|

script ให้แสดงภาพสลับไปเรื่อยๆ และในแต่ละภาพส่งลิ้งไปที่ต่างๆกัน


var how_many_ads = 9; //จำนวน banner ที่จะมี จะแสดง banner กี่อัน ก้กำหนดไว้
if (ad==1) { เมื่อเพิ่ม banner ลำดับต่อไปอย่าลืมใส่หมายเลขของโฆษณา

เอาไปปรับใช้ตามความเหมาะสมได้เลยครับ การทำงานจะเป็นแบบสุ่มโฆษณา ทุกครั้งที่ refresh หน้า
อ้อ แนะนำเรื่องขนาดความสูง และความกว้างของแต่ละแบนเนอร์ ให้เท่ากัน จะสวยงามที่สุด
อย่างของผม กำหนดไว้ที่ 468*60

เครดิต ขอขอบคุณ

โค๊ด:
www.codetukyang.com

Apache เป็นโปรแกรม Web Server

|

อาปาเช่ เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์เพียงหนึ่งเดียวที่อยู่คู่กับระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ทุกดิสทริบิวชั่นมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เช่นเดียวกับลีนุกซ์เรดแฮทที่ได้รวมเอาโปรแกรมอาปาเช่ไว้ในชุดติดตั้งพร้อมให้เราใช้งานได้ทันที ไม่ต่างอะไรกับบะหมี่สำเร็จรูป แค่เทน้ำร้อนลงไปก็รับประทานได้ทันที จึงไม่ใช่เรื่องยากเลยที่เราจะตั้งเครื่องพีซีซักตัวหนึ่งขึ้นเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ ให้บริการเว็บได้ทั้ง ระบบอินทราเน็ตภายในองค์กร ไปจนถึงจัดตั้งเว็บไซต์เผยแพร่ข้อมูลไปทั่วโลก และนี่คืออีกหนึ่งการนำเอาลีนุกซ์มาใช้งานที่คุ้มค่าที่สุด สำหรับวันนี้
เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่นิยมใช้มากที่สุดในโลก
ข้อมูลการสำรวจจากเว็บไซต์ทั่วโลกโดย Netcraft เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงจำนวนของอาปาเช่เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีสัดส่วนการใช้งานสูงกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้นอีกด้วย จากจุดเริ่มต้นที่อาศัยโค๊ดจากเว็บเซิร์ฟเวอร์มาตรฐาน NCSA ( องค์กรกลางผู้กำหนดมาตรฐานโปรโตคอล HTTP ,มาตรฐานภาษา HTML และมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการบนเว็บทั้งหมด ) พัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยกำลังของชุมชนนักพัฒนาจากทุกมุมโลกผ่านโมเดลการพัฒนาแบบฟรีซอฟต์แวร์ ภายใต้การกำกับดูแลของ Apache Foundation ( http://www.apache.org ) ทำให้เกิดซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีเสถียรภาพการทำงานที่เชื่อถือได้ มีประสิทธิภาพสูง และแข็งแกร่ง
จากซอฟต์แวร์ที่เริ่มต้นจากส่วนประกอบเล็ก ๆ หรือ "patches" จำนวนมากมาย จนทำให้ถูกเรียกขานว่า " a patchy " ผ่านช่วงระยะเวลาของการพัฒนามาถึงสิบปี จนกลายมาเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ได้มาตรฐาน และได้รับความนิยมสูงสุดในวันนี้ อาปาเช่ยังคงความเป็นฟรีซอฟต์แวร์ไว้อย่างมั่นคง กล่าวได้ว่าถึงวันนี้อาปาเช่เป็นแม่แบบของฟรีซอฟต์แวร์ที่ประสบความสำเร็จแล้วในโลกของความเป็นจริง และเป็นอีกหนึ่งโปรเจคที่ก้าวข้ามพ้นอุปสรรคของโมเดลการพัฒนาแบบฟรีซอฟต์แวร์ได้สำเร็จแล้ว

From:www.itdestination.com

การเพิ่มคอลเลกชันตัวดึงข้อมูล RSS

|

Microsoft Office Outlook 2007 สนับสนุนรูปแบบแฟ้ม .opml สำหรับการแลกเปลี่ยนคอลเลกชันข้อมูลการกำหนดค่าตัวดึงข้อมูล RSS ระหว่างโปรแกรมต่างๆ ที่สามารถจัดระเบียบและแสดงตัวดึงข้อมูล RSS โปรแกรมดังกล่าวรู้จักกันในชื่อว่าตัวรวม RSS (RSS Aggregator) ทั้งนี้ Office Outlook 2007 ได้รวมฟังก์ชันการใช้งานของตัวรวม RSS ไว้ด้วย

คอลเลกชันตัวดึงข้อมูล RSS จะถูกใช้ร่วมกันได้ด้วยการส่งออกคอลเลกชันในรูปแบบของแฟ้ม XML ที่มีนามสกุลแฟ้ม .opml แล้วส่งแฟ้มดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น คุณสามารถแนบแฟ้ม .opml ไปกับข้อความอีเมล หรือคัดลอกแฟ้ม .opml ไปยังโฟลเดอร์ที่ใช้ร่วมกันบนเครือข่ายซึ่งทั้งคุณและผู้ใช้คนอื่นสามารถเข้าถึง หรือคัดลอกแฟ้ม .opml ลงบนสื่อเก็บข้อมูลแบบถอดได้ เช่น ดิสก์, ซีดี หรืออุปกรณ์หน่วยความจำ จากนั้น บุคคลอื่นสามารถนำเข้าแฟ้ม .opml แล้วเลือกตัวดึงข้อมูล RSS ที่จะเพิ่มลงใน Outlook


ใน Office Outlook 2007 คอลเลกชันตัวดึงข้อมูล RSS สามารถส่งออกในรูปแบบแฟ้มที่มีนามสกุลแฟ้ม .opml
คุณสามารถนำเข้าแฟ้มที่มีนามสกุลแฟ้ม .opml ไปยัง Office Outlook 2007 หรือโปรแกรม RSS อื่นๆ

บนเมนู แฟ้ม ให้คลิก นำเข้าและส่งออก
เลือก นำเข้าตัวดึงข้อมูล RSS จากแฟ้ม OPML
คลิก ถัดไป
คลิก เรียกดู เพื่อระบุตำแหน่งที่ตั้งของแฟ้มที่จะนำเข้า แล้วคลิก เปิด
คลิก ถัดไป
เลือกกล่องกาเครื่องหมาย ชื่อตัวดึงข้อมูล สำหรับการสมัครสมาชิกแต่ละรายการที่คุณต้องการนำเข้า


เคล็ดลับ คลิก เลือกทั้งหมด หรือ ล้างทั้งหมด เพื่อเลือกหรือล้างกล่องกาเครื่องหมายทั้งหมดอย่างรวดเร็ว

หมายเหตุ คุณกำลังนำเข้าเฉพาะข้อมูลการสมัครสมาชิก ไม่ใช่รายการที่แท้จริงจากการสมัครสมาชิก

คลิก ถัดไป
แฟ้ม .opml จะถูกนำเข้าไปยัง Office Outlook 2007

From:office.microsoft.com

เครื่องดักฝัน

|

ภาพในฝันใกล้ได้เห็นจริง และความลับอาจจะไม่ลับอีกต่อไป เมื่อทีมนักวิจัยแดนปลาดิบ พัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถฉายภาพ สิ่งที่ตาของคนเรามองเห็นได้ จากสัญญาณในสมอง อนาคตอาจมีเครื่องบันทึกความฝัน หรือเครื่องฉายภาพจากความรู้สึกนึกคิดของคนเราได้ไม่ยาก ยูกิยาสุ คามิทานิ (Yukiyasu Kamitani) นำทีมนักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติด้านเทคโนโลยีทางการสื่อสารขั้นสูง (Advanced Telecommunications Research Institute International) กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยผลสำเร็จการสร้างเทคโนโลยี การฉายภาพจากสมองของมนุษย์ได้โดยตรง ซึ่งสำนักข่าวเอเอฟพีระบุว่า พวกเขาได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงในวารสารนิวรอน (Neuron) ของสหรัฐอเมริกา ในการศึกษาและทดลอง นักวิจัยให้อาสาสมัครที่เข้าร่วมกัน ทดลองมองดูภาพตัวอักษร 6 ตัว ของคำว่า "neuron" ขณะเดียวกันก็สังเกตการทำงานของสมองส่วนการมองเห็นของพวกเขา ผ่านทางเครื่องแสกนสมอง แล้วสามารถถ่ายทอดสัญญาณจากสมองของพวกเขาปรากฏออกมาเป็นอักษรดังกล่าวได้บนจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปเรขาคณิต สีเทา ขาว และดำ แต่ก็ยังไม่ค่อยชัดเจนเท่าใดนัก ทั้งนี้ เมื่อตาของคนเรามองเห็นวัตถุ เรตินาจะเปลี่ยนภาพที่เห็นให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และส่งไปยังสมองส่วนที่เกี่ยวกับการมองเห็นบริเวณคอร์เทกซ์ (cortex) ทำให้เราเห็นว่าสิ่งนั้นคืออะไร ในทำนองเดียวกัน ทีมวิจัยสามารถเชื่อมโยงสัญญาณนั้นเข้ากับอุปกรณ์ได้ แล้วฉายออกมาเป็นภาพที่บุคคลนั้นมองเห็น สำหรับการทดลองนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ปัญหาทางด้านการสื่อสาร และศึกษาถึงความผิดปรกติหรือความซับซ้อนในจิตใจของคนเรา "เวลาที่เราต้องการสื่อสาร เราจำเป็นต้องเคลื่อนไหวบางส่วนของร่างกาย เช่น การพูดออกมาจากปาก หรือใช้นิ้วพิมพ์ลงบนแป้นพิมพ์ แต่ถ้าหากเราสามารถรับข้อมูลที่ออกมาจากสมองได้โดยตรง ก็เป็นไปได้อย่างมากที่เราจะสามารถสื่อสารกันโดยการที่เราเพียงแค่นึกคิดว่าเราต้องการจะพูดอะไรออกมาเท่านั้น โดยที่เราไม่ต้องขยับร่างกายส่วนไหนเลย" คามิทานิ กล่าวกับรอยเตอร์ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในทงการแพทย์สำหรับผู้ที่ไม่สามารถพูดได้ หรือมีอาการจิตหลอน นักวิจัยระบุว่านี่เป็นเทคโนโลยีแรกในโลกที่ช่วยให้เราสามารถมองเห็นภาพสิ่งที่คนอื่นมองเห็นได้โดยดูภาพที่มาจากคลื่นสมองของเขาโดยตรง ซึ่งนักวิจัยจะพัฒนาต่อไปอีก และอาจเป็นไปได้ว่าในอนาคตเราจะมีเทคโนโลยีที่สามารถบันทึกภาพที่เรานึกคิดอยู่ในหัวสมองแล้วนำมาฉายซ้ำอีกครั้งได้ รวมทั้งความทรงจำในใจ หรือแม้แต่บันทึกความฝันในขณะหลับก็ย่อมได้.

ที่มา www.manager.co.th/

 

©2009 เทคนิคคอมพิวเตอร์ | Template Blue by:TNB